วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รายละเอียดด้านเวลา Temporal Resolution

รายละเอียดด้านเวลา Temporal Resolution

รายละเอียดด้านเวลา Temporal Resolution

เป็นมิติทางด้านเวลาในงานสำรวจระยะไกล หรือรีโมทเซนซิง เช่น ถ้าเราใช้ข้อมูลรีโมทเซนซิง มาต่างปี ปี (แต่ใช้ฤดูกาลหรือเดือนใกล้ๆ กัน) จะทำให้เราวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงข้อมูลภาคพื้นดินในเิชิงมิติทางด้านเวลา ว่า ระยะเวลาที่ผ่านมาแตกต่างกันอย่างไร
การพิจารณารายละเอียดด้านเวลามีบทบาทต่อการศึกษาด้านรีโมทเซนซิงดังนี้
เวลาต่างกัน ลักษณะสภาพแวดล้อมของสิ่งที่จะศึกษา ณ ตำแหน่งเดิมอาจแตกต่างกันไปด้วย เช่น การศึกษาพื้นที่เพาะปลูกในช่วงฤดูฝนกับช่วงฤดูแล้ง
เวลาในการบันทึกข้อมูล – ค่าพลังงาน / มุม / ช่วงคลื่นที่ผ่านมาต่างกัน ทำให้ได้ค่าการสะท้อนแสงของพลังงานแตกต่างกันไป
ข้อจำกัดด้านเวลาที่สัมพันธ์กับอากาศ เช่น ฝนฟ้าคะนอง หรือสภาวะอากาศแปรปรวน
เป็นประโยชน์ในการใช้ติดตาม / ดูแนวโน้ม / กรณีศึกษาพื้นที่เสี่ยงภัย – โดยอาศัยช่วงเวลาเดียวกันหรือแตกต่าง หรือช่วงเวลาต่อเนื่องในการวิเคราะห์
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพ
http://www.gis2me.com/th/?p=886

GoogleEarth

GoogleEarth

กูเกิลเอิร์ธคืออะไร

กูเกิลเอิร์ทโปรแกรมดูภาพดาวเทียมผ่านอินเตอร์เน็ต
   กู เกิลเอิร์ธได้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้าไปทดลองใช้งานโปรแกรมในรูปแบบฟรี และแบบเสียค่าใช้จ่ายรายปี เป็นการเปิดรูปแบบการตลาดใหม่โดยการนำข้อมูล รีโมทเซนซิ่ง” และ จีไอเอส” มา ผสมผสานทำให้ภาพถ่ายแผนที่จากดาวเทียมสามารถเพิ่มเติมรายละเอียดในรูปแบบฐาน ข้อมูลที่อ้างอิงพิกัดตำแหน่งของภาพถ่าย โดยอาศัยระบบโปรแกรมที่สามารถดึงข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็ว สูงที่ช่วยให้การสำรวจโลกในรูปแบบบันเทิงที่มีทั้งสาระและความรู้ (Edutainment) นอก เหนือไปจากวัตถุประสงค์สืบค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ที่สนใจ โดยเฉพาะสถานี่ท่องเที่ยวที่สำคัญก็ได้แสดงผลผ่านระบบเครือข่ายและเรียกอ่าน ได้กูเกิลเอิร์ธ โดยตัวโปรแกรมจะดึงข้อมูลมาจัดเก็บเข้าหน่วยความจำสำรองของเครื่อง คอมพิวเตอร์ชนิดพกพา และสามารถบันทึกจัดเก็บไว้สามารถแสดงผลแม้ไม่ได้ต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ก็ยิ่งเป็นประเด็นที่ทำให้วงการการศึกษา หรือแม้กระทั่งในครอบครัวก็ยิ่งให้ความสนใจกับโปรแกรมกูเกิลเอิร์ธมากขึ้น เป็นทวีคูณ หลายท่านเลยตั้งข้อสังเกตว่าอย่างนี้ก็มีข้อมูลทุกอย่างในฐานข้อมูลแผนที่ เหมือนในแผนที่ท่องเที่ยว อันนี้ก็ไม่ได้ทันสมัยขนาดนั้น ระบบก็ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของข้อมูลรายละเอียดในบางพื้นที่ ที่ต้องอาศัยการกรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบโดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้โดยทั่วไปสามารถ ใส่รายละเอียดข้อมูลได้ แต่คงต้องใช้โปรแกรมกูเกิลเอิร์ธเวอร์ชั่นเสียเงินค่าลิขสิทธิ์รายปี ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ใส่ข้อมูลรายละเอียดเข้าไปได้ทั้ง ภาพถ่ายจากดาวเทียม หรือภาพถ่ายทางอากาศ หรือภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล แม้กระทั่งฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ที่ หลายๆ หน่วยงานใช้งานกันอยู่บ้างแล้ว เลยลองยกตัวอย่างพื้นที่ในบริวเณสนามหลวงที่ผู้ใช้สามารถซูมขยายภาพเข้าไป เห็นรายละเอียดและเห็นข้อมูลที่สามารถเลือกดูได้ และปรากฎเป็นรูปภาพของสถานที่ที่สนใจ

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพ 

แหล่งพลังงานและการแผ่รังสี (Energy Sources and Radiation)

แหล่งพลังงานและการแผ่รังสี (Energy Sources and Radiation)

แสงสว่างเป็นรูปหนึ่งของพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งแผ่รังสีเป็นไปตามทฤษฎีของคลื่น ส่วนพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้น สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีอนุภาค (Particle Theory) กล่าวคือ การแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยหน่วยอิสระที่เรียกว่า โฟตอน (Photon) หรือควอนต้า (Quanta) พลังงานแต่ละควอนต้าเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความถี่ของคลื่น
พลังงานเป็นสัดส่วนผกผันกับความยาวคลื่น คือ ความยาวคลื่นมากให้พลังงานต่ำ ซึ่งมีความสำคัญในการสำรวจข้อมูลระยะไกล เช่น ไมโครเวฟจากพื้นโลก จะยากต่อการบันทึกมากกว่าพลังงานในช่วงคลื่นสั้นกว่า ฉะนั้น การบันทึกพลังงานช่วงคลื่นยาว ต้องบันทึกพลังงานในบริเวณกว้างและใช้เวลานานพอสมควร(273 องศาเซลเซียส C) สามารถเปล่งหรือแผ่พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น วัตถุพื้นผิวโลกถือว่าเป็นแหล่งพลังงานที่ขนาดและส่วนประกอบของช่วงคลื่นแตกต่างกันไป พลังงานแผ่ออกมามากน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของพื้นผิววัตถุ โดยสามารถคำนวณได้จากกฎของ Stefan-Boltzmann ดังนี้-ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่สำคัญที่สุดของการสำรวจข้อมูลระยะไกล อย่างไรก็ตาม สสารทุกชนิดที่มีอุณหภูมิชนิดที่มีอุณหภูมิสูงกว่าองศาสัมบูรณ์
พลังงานทั้งหมดที่แผ่จากวัตถุจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับอุณหภูมิสมบูรณ์กำลัง ดังนั้น พลังงานที่แผ่ออกมาจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น โดยความจริงกฎนี้จะใช้กับเทหวัตถุสีดำ (Black Body) ซึ่งหมายถึง วัตถุหรือมวล ๆ หนึ่งที่สามารถดูดกลืนพลังงานทั้งหมดที่กระทบและจะแผ่พลังงานในปริมาณที่มากที่สุดที่ทุก ๆ อุณหภูมิ” เทหวัตถุสีดำจึงเป็นสิ่งสมมติฐานขึ้น เพราะไม่มีสสารใด ๆ ในโลกที่มีคุณสมบัติดังกล่าว แต่มีสภาพใกล้เคียงเท่านั้น
พลังงานที่แผ่ออกมาจะแปรผันกับอุณหภูมิของวัตถุและความยาวช่วงคลื่น ซึ่งสามารถคำนวณหาพลังงานต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่สำหรับความยาวคลื่นที่กำหนดจากกฎของ Planck
นอกจากนี้ เมื่อทราบอุณหภูมิสามารถคำนวณหาความยาวคลื่นที่ให้พลังงานสูงสุด จากกฎการแทนที่ของ Wien (Wien’s Displacement Law)
จากสมการสรุปได้ว่า อุณหภูมิของผิวพื้นโลกประมาณ 300 องศาเคลวิน °K แผ่พลังงานสูงสุดที่ความยาวคลื่นประมาณ 9.7ไมโครเมตร การแผ่รังสีนี้มีความสัมพันธ์กับความร้อนผิวโลก จึงมักเรียกรังสีที่แผ่ออกมานี้ว่า อินฟราเรดความร้อน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นและถ่ายภาพได้ด้วยกล้องธรรมดา ต้องใช้ Radiometer หรือ Scanner ดวงอาทิตย์มีพลังงานสูงสุดที่ความยาวคลื่นประมาณ 0.5ไมโครเมตร ในช่วงคลื่นสีเขียวซึ่งตามนุษย์และฟิล์มถ่ายภาพสามารถรับช่วงคลื่นนี้ได้
 
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพ

การผสมสีภาพถ่ายดาวเทียม

การผสมสีภาพถ่ายดาวเทียม


การผสมสีภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 5 TM ผสมสีโดยใช้โปรแกรม QGIS

       1.  เปิดโปรแกรม QGIS  และเปิดภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 5 TM ขึ้นมา



         2.  การผสมสีแบบจริง (3( (321 RGB )

ให้เลือกที่ ชั้นข้อมูล >> คลิกขวา >> Properties >> Style >> เลือกแบนด์ภาพถ่ายดาวเทียม >> Stretch to Min Max



ภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้


       3. การผสมสีแบบเท็จ  ผสมได้หลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่นำไปใช้

ให้เลือกที่ ชั้นข้อมูล >> คลิกขวา >> Properties >> Style >> เลือกแบนด์ภาพถ่ายดาวเทียม >> Stretch to Min Max

3.1 ตัวอย่างต้องการศึกษาพื้นที่ป่าได้ ให้ผสมสีแบบ 4 3 2 (RGB)

  3.2  ตัวอย่างต้องการศึกษาพื้นที่ส่วนยางพาราได้ ให้ผสมสีแบบ 5 3 2 (RGB)

การผสมสีที่นิยมใช้

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพ

ดาวเทียม

ดาวเทียม




ดาวเทียม คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตรเช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว กาแล็กซี ต่างๆ

ดาวเทียมได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2500 ดาวเทียมดังกล่าวมีชื่อว่า "สปุตนิก (Sputnik)" โดยรัสเซียเป็นผู้ส่งขึ้นไปโคจร สปุตนิกทำหน้าที่ตรวจสอบการแผ่รังสีของชั้นบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟีย ในปี พ.ศ. 2501 สหรัฐได้ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรบ้างมีชื่อว่า "Explorer"ทำให้รัสเซียและสหรัฐเป็น ประเทศผู้นำทางด้านการสำรวจทางอวกาศ และการแข่งขั้นกันระหว่างทั้งคู่ได้เริ่มขึ้นในเวลาต่อมา
                 

http://www.gistda.or.th/Gistda/HtmlGistda/Images/Images/Satellite/Sputnik.jpg                  http://www.gistda.or.th/Gistda/HtmlGistda/Images/Images/Satellite/Explorer.jpg

           Sputnik พ.ศ.2500                                                            Explorer พ.ศ.2501




ส่วนประกอบดาวเทียม



ดาวเทียมเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกสที่ ซับซ้อน มีส่วนประกอบหลายๆ อย่างประกอบเข้าด้วยกันและสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ สามารถโคจรรอบโลกด้วยความเร็วที่สูงพอที่จะหนีจากแรงดึงดูดของโลกได้ การสร้างดาวเทียมนั้นมีความพยายามออกแบบให้ชิ้นส่วนต่างๆ ทำงานได้อย่างประสิทธิภาพมากที่สุด และราคาไม่แพงมาก ดาวเทียมประกอบด้วยส่วนประกอบเป็นจำนวนมาก แต่ละส่วนจะมีระบบควบคุมการทำงานแยกย่อยกันไป และมีอุปกรณ์เพื่อควบคุมให้ระบบต่างๆ ทำงานร่วมกัน โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่ของดาวเทียมประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1.               โครงสร้างดาวเทียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก โครงจะมีน้ำหนักประมาณ 15 - 25% ของน้ำหนักรวม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และต้องไม่เกิดการสั่นมากเกินที่กำหนด หากได้รับสัญญาณที่มีความถี่ หรือความสูงของคลื่นมากๆ (amptitude)
2.               ระบบเครื่องยนต์ ซึ่งเรียกว่า "aerospike" อาศัยหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องอัดอากาศ และปล่อยออกทางปลายท่อ ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำงานได้ดีในสภาพสุญญากาศ ซึ่งต้องพิจารณาถึงน้ำหนักบรรทุกของดาวเทียมด้วย
3.               ระบบพลังงาน ทำหน้าที่ผลิตพลังงาน และกักเก็บไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังระบบไฟฟ้าของดาวเทียม โดยมีแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ไว้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ให้ดาวเทียม แต่ในบางกรณีอาจใช้พลังงานนิวเคลียร์แทน
4.               ระบบควบคุมและบังคับ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ที่เก็บรวมรวมข้อมูล และประมวลผลคำสั่งต่างๆ ที่ได้รับจากส่วนควบคุมบนโลก โดยมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ (Radar System) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
5.               ระบบสื่อสารและนำทาง มีอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ซึ่งจะทำงาน โดยแผงวงจรควบคุมอัตโนมัติ
6.               อุปกรณ์ควบคุมระดับความสูง เพื่อรักษาระดับความสูงให้สัมพันธ์กันระหว่างพื้นโลก และดวงอาทิตย์ หรือเพื่อรักษาระดับให้ดาวเทียมสามารถโคจรอยู่ได้
7.               เครื่องมือบอกตำแหน่ง เพื่อกำหนดการเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมีส่วนย่อยๆ อีกบางส่วนที่จะทำงานหลังจาก ได้รับการกระตุ้นบางอย่าง เช่น ทำงานเมื่อได้รับสัญญาณ สะท้อนจากวัตถุบางชนิด หรือทำงานเมื่อได้รับลำแสงรังสี ฯลฯ
ชิ้นส่วนต่างๆ ของดาวเทียมได้ถูกทดสอบอย่างละเอียด ส่วนประกอบต่างๆ ถูกออกแบบสร้าง และทดสอบใช้งานอย่างอิสระ ส่วนต่างๆ ได้ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกัน และทดสอบอย่างละเอียดครั้งภายใต้สภาวะที่เสมือนอยู่ในอวกาศก่อนที่มัน จะถูกปล่อยขึ้นไปในวงโคจร ดาวเทียมจำนวนไม่น้อยที่ต้องนำมาปรับปรุงอีกเล็กน้อย ก่อนที่พวกมันจะสามารถทำงานได้ เพราะว่าหากปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรแล้ว เราจะไม่สามารถปรับปรุงอะไรได้ และดาวเทียมต้องทำงานอีกเป็นระยะเวลานาน ดาวเทียมส่วนมากจะถูกนำขึ้นไปพร้อมกันกับจรวด ซึ่งตัวจรวดจะตกลงสู่มหาสมุทรหลังจากที่เชื้อเพลิงหมด

ดาวเทียมทำงานอย่างไร 
ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปลอยอยู่ในตำแหน่ง  วงโคจรค้างฟ้า ซึ่งมีระยะห่างจากพื้นโลกประมาณ   36000 - 38000  กิโลเมตร  และโคจรตามการหมุนของโลก  เมื่อเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นโลกจะเสมือนว่าดาวเทียมลอยนิ่งอยู่บนท้องฟ้า  และดาวเทียมจะมีระบบเชื้อเพลิงเพื่อควบคุมตำแหน่งให้อยู่ในตำแหน่งองศาที่ ได้สัปทานเอาไว้   กับหน่วยงานที่ดูแลเรื่องตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียมคือ  IFRB ( International Frequency Registration Board )
                        ดาวเทียมที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า  จะทำหน้าที่เหมือนสถานีทวนสัญญาณ  คือจะรับสัญญาณที่ยิงขึ้นมาจากสถานีภาคพื้นดิน  เรียกสัญญาณนี้ว่าสัญญาณขาขึ้นหรือ ( Uplink ) รับและขยายสัญญาณพร้อมทั้งแปลงสัญญาณให้มีความถี่ต่ำลงเพื่อป้องกันการรบกวน กันระหว่างสัญญาณขาขึ้นและส่งลงมา  โดยมีจานสายอากาศทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณ  ส่วนสัญญาณในขาลงเรียกว่า ( Downlink )

วงโคจรดาวเทียม (Satellite Orbit) เมื่อแบ่งตามระยะความสูง (Altitude) จากพื้นโลกแบ่งเป็น ระยะคือ


ประเภทของดาวเทียม



5.ดาวเทียมประเภทอื่นๆ

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพ


ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่ส่งผ่านจากดวงอาทิตย์โดยการแผ่รังสี พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ประกอบไปด้วย สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า โดยที่ทิศทางของสนามไฟฟ้าและทิศทางของสนามแม่เหล็ก มีการเคลื่อนที่ของคลื่นตั้งฉากซึ่งกันและกัน (แบบฮาร์โมนิค (Hamonic) คือ มีช่วงซ้ำและจังหวะเท่ากันในเวลาหนึ่งและมีความเร็วเท่าแสง) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันดังนี้

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบไปด้วยคลื่นที่มีความยาวช่วงคลื่นในหลากหลายช่วงคลื่น ตั้งแต่สั้นที่สุดไปจนถึงยาวที่สุด ซึ่งในแต่ละช่วงคลื่นจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ความยาวคลื่นและความถี่คลื่นมีความสัมพันธ์กันแบบผกผัน กล่าวคือ ถ้าความยาวคลื่นมาก ความถี่จะน้อย หรือความยาวคลื่นน้อย ความถี่จะมาก โดยทั่วไป หน่วยวัดความยาวคลื่นที่ใช้ในงานรีโมทเซนซิง มักใช้เป็น ไมโครเมตร

ตาราง แสดงประเภทของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ประเภทคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ความยาวช่วงคลื่น
ความถี่
คุณสมบัติ
1. รังสีแกมมา (gamma ray)
< 0.03 nm.
> 3,000 THz
ถูกดูดกลืนทั้งหมดโดยชั้นบรรยากาศชั้นบน จึงไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการสำรวจจากระยะไกล
2. รังสีเอกซ์ (x-ray)
0.03-3.0 nm.
> 3,000 THz
ถูกดูดกลืนทั้งหมดโดยชั้นบรรยากาศชั้นบนเช่นกัน จึงไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการสำรวจจากระยะไกล
3. รังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet)
0.03-0.4 mm
750-3,000 THz
ช่วงคลื่นสั้นกว่า 0.3 mm ถูกดูดซึมทั้งหมดโดยโอโซน (O3) ในบรรยากาศชั้นบน
4. คลื่นอัลตราไวโอเลตที่ใช้ในการถ่ายภาพ 
(photographic ultraviolet band)
0.03-0.4 mm
750-3,000 THz
ช่วงคลื่นนี้สามารถผ่านชั้นบรรยากาศได้ สามารถถ่ายภาพด้วยฟิล์มถ่ายรูป แต่มีการกระจายในชั้นบรรยากาศเป็นอุปสรรค
5. คลื่นตามองเห็น (visible)
0.4-0.7 mm
430-750 THz
เป็นช่วงคลื่นที่บันทึกด้วยฟิล์มถ่ายภาพและอุปกรณ์บันทึกภาพได้ดี โดยเป็นช่วงคลื่นที่ดวงอาทิตย์มีการสะท้อนพลังงานสูงสุด (reflected energy peak ที่ 0.5 mm) ช่วงคลื่นนี้แบ่งออกได้เป็น กลุ่มที่ตอบสนองต่อสายตามนุษย์ คือ
ประเภทคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ความยาวช่วงคลื่น
ความถี่
คุณสมบัติ
0.4-0.5 mm. ช่วงคลื่นสีน้ำเงิน
0.5-0.6 mm. ช่วงคลื่นสีเขียว
0.6-0.7 mm. ช่วงคลื่นสีแดง
ซึ่งเป็นแม่สีแสงที่ก่อให้เกิดสีต่างๆ ที่เรามองเห็นในธรรมชาติ
6. คลื่นอินฟราเรด (infrared)
แบ่งออกเป็นช่วงคลื่นย่อย ดังนี้
ช่วงคลื่นระหว่าง 0.7-0.9 mmสามารถถ่ายภาพด้วยฟิล์มพิเศษ เรียกว่า photographic infrared film และเป็นช่วงที่โลกสะท้อนพลังงานสูงสุดที่9.7 mm
6.1 อินฟราเรดใกล้ (near infrared)
0.7-1.3 mm
230-430 THz
มีประโยชน์ต่อการศึกษาด้านพืชพรรณ การแยกแยะดินกับน้ำ
6.2 อินฟราเรดคลื่นสั้น
(short wave infrared)
1.3-3.0 mm
100-230 THz
มีประโยชน์ต่อการศึกษาด้านการใช้ที่ดินแร่ธาตุ
6.3 อินฟราเรดคลื่นกลาง
(middle wave infrared)
3.0-8.0 mm
38-100 THz
มีประโยชน์ด้านการแยกแยะแร่ธาตุวัตถุสะท้อนแสงสูง
6.4 อินฟราเรดความร้อน
(thermal infrared)
8.0-14.0 mm
22-38 THz
ใช้ศึกษาโรคพืชเนื่องจากความร้อน ความแตกต่างของความร้อนในพื้นที่ศึกษา ความแตกต่างของความชื้นของดิน
6.5 อินฟราเรดไกล (far infrared)
14.0 mm – 1 mm.
0.3-22 THz
ไม่ปรากฏการประยุกต์ใช้เพราะคลื่นนี้จะถูกชั้นบรรยากาศดูดกลืนจนเกือบทั้งหมด
7. คลื่นไมโครเวฟ (microwave)
แบ่งตามขนาดความยาวคลื่นได้
กลุ่มย่อย
0.1-30.0 cm.
เป็นช่วงคลื่นยาวที่สามารถทะลุผ่านหมอก เมฆ และฝนได้ สามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งระบบพาสซีฟและแอคทีฟ
7.1 ช่วงคลื่นขนาดมิลลิเมตร
1.0-10.0 mm.
30-300 GHz
7.2 ช่วงคลื่นขนาดเซนติเมตร
1.0-10.0 mm.
3-30 GHz
7.3 ช่วงคลื่นขนาดเดซิเมตร
0.1-1.0 dm.
0.3-3 GHz
8. คลื่นเรดาร์ (radar)
มีแบ่งย่อยเป็นช่วงคลื่นที่สำคัญ ดังนี้
0.1-30.0 cm.
30-300 MHz
เป็นระบบแอคทีฟ ที่สามารถทะลุผ่านหมอก เมฆ และฝนได้
8.1 Ka band
10 mm.
8.2 X band
30 mm.
8.3 L band
25 cm.
9. คลื่นวิทยุ (radio)
1 m. – 100 km.
3 KHz–300 MHz
เป็นช่วงคลื่นที่ยาวที่สุด บางครั้งมีเรดาร์อยู่ในช่วงนี้ด้วย
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพ